วันจันทร์ที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

บทที่5 เรื่อง จริยธรรมสารสนเทศและสิธิทางปัญญา

1.อาชญากรรมคอมพิวเตอร์คืออะไร จงอธิบายพร้อมยกตัวอย่าง
อาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ (Cyber-Crime) เป็นการกระทำที่ผิดกฎหมายโดยใช้วิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์เพื่อโจมตีระบบคอมพิวเตอร์และข้อมูลที่อยู่บนระบบดังกล่าว ส่วนในมุมมองที่กว้างขึ้น “อาชญากรรมที่เกี่ยวเนื่องกับคอมพิวเตอร์” หมายถึงการกระทำที่ผิดกฎหมายใดๆ ซึ่งอาศัยหรือมีความเกี่ยวเนื่องกับระบบคอมพิวเตอร์หรือเครือข่าย อย่างไรก็ตาม อาชญากรรมประเภทนี้ไม่ถือเป็นอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์โดยตรง ในการประชุมสหประชาชาติครั้งที่ 10 ว่าด้วยการป้องกันอาชญากรรมและการปฏิบัติต่อผู้กระทำผิด (The Tenth United Nations Congress on the Prevention of Crime and the Treatment of Offenders) ซึ่งจัดขึ้นที่กรุงเวียนนา เมื่อวันที่ 10-17 เมษายน 2543 ได้มีการจำแนกประเภทของอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ โดยแบ่งเป็น 5 ประเภท คือ การเข้าถึงโดยไม่ได้รับอนุญาต, การสร้างความเสียหายแก่ข้อมูลหรือโปรแกรมคอมพิวเตอร์, การก่อกวนการทำงานของระบบคอมพิวเตอร์หรือเครือข่าย, การยับยั้งข้อมูลที่ส่งถึง/จากและภายในระบบหรือเครือข่ายโดยไม่ได้รับอนุญาต และการจารกรรมข้อมูลบนคอมพิวเตอร์ โครงการอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์และการโจรกรรมทรัพย์สินทางปัญญา (Cyber-Crime and Intellectual Property Theft) พยายามที่จะเก็บรวบรวมและเผยแพร่ข้อมูล และค้นคว้าเกี่ยวกับอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ 6 ประเภท ที่ได้รับความนิยม ซึ่งส่งผลกระทบโดยตรงต่อประชาชนและผู้บริโภค นอกจากนี้ยังทำหน้าที่เผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับขอบเขตและความซับซ้อนของปัญหา รวมถึงนโยบายปัจจุบันและความพยายามในการปัญหานี้
อาชญากรรม 6 ประเภทดังกล่าวได้แก่
1.การเงิน – อาชญากรรมที่ขัดขวางความสามารถขององค์กรธุรกิจในการทำธุรกรรม อี-คอมเมิร์ซ(หรือพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์)
2.การละเมิดลิขสิทธิ์ – การคัดลอกผลงานที่มีลิขสิทธิ์ ในปัจจุบันคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลและอินเทอร์เน็ตถูกใช้เป็นสื่อในการก่ออาชญากรรม แบบเก่า โดยการโจรกรรมทางออนไลน์หมายรวมถึง การละเมิดลิขสิทธิ์ ใดๆ ที่เกี่ยวข้องกับการใช้อินเทอร์เน็ตเพื่อจำหน่ายหรือเผยแพร่ผลงานสร้างสรรค์ที่ได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์
3.การเจาะระบบ – การให้ได้มาซึ่งสิทธิในการเข้าถึงระบบคอมพิวเตอร์หรือเครือข่ายโดยไม่ได้รับอนุญาต และในบางกรณีอาจหมายถึงการใช้สิทธิการเข้าถึงนี้โดยไม่ได้รับอนุญาต นอกจากนี้การเจาะระบบยังอาจรองรับอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ในรูปแบบอื่นๆ (เช่น การปลอมแปลง การก่อการร้าย ฯลฯ)
4.การก่อการร้ายทางคอมพิวเตอร์ – ผลสืบเนื่องจากการเจาะระบบ โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อสร้างความหวาดกลัว เช่นเดียวกับการก่อการร้ายทั่วไป โดยการกระทำที่เข้าข่าย การก่อการร้ายทางอิเล็กทรอนิกส์ (e-terrorism) จะเกี่ยวข้องกับการเจาระบบคอมพิวเตอร์เพื่อก่อเหตุรุนแรงต่อบุคคลหรือทรัพย์สิน หรืออย่างน้อยก็มีจุดมุ่งหมายเพื่อสร้างความหวาดกลัว
5.ภาพอนาจารทางออนไลน์ – ตามข้อกำหนด 18 USC 2252 และ 18 USC 2252A การประมวลผลหรือการเผยแพร่ภาพอนาจารเด็กถือเป็นการกระทำที่ผิดกฎหมาย และตามข้อกำหนด 47 USC 223 การเผยแพร่ภาพลามกอนาจารในรูปแบบใดๆ แก่เยาวชนถือเป็นการกระทำที่ขัดต่อกฎหมาย อินเทอร์เน็ตเป็นเพียงช่องทางใหม่สำหรับอาชญากรรม แบบเก่า อย่างไรก็ดี ประเด็นเรื่องวิธีที่เหมาะสมที่สุดในการควบคุมช่องทางการสื่อสารที่ครอบคลุมทั่วโลกและเข้าถึงทุกกลุ่มอายุนี้ได้ก่อให้เกิดการถกเถียงและการโต้แย้งอย่างกว้างขวาง
6.ภายในโรงเรียน – ถึงแม้ว่าอินเทอร์เน็ตจะเป็นแหล่งทรัพยากรสำหรับการศึกษาและสันทนาการ แต่เยาวชนจำเป็นต้องได้รับทราบเกี่ยวกับวิธีการใช้งานเครื่องมืออันทรงพลังนี้อย่างปลอดภัยและมีความรับผิดชอบ โดยเป้าหมายหลักของโครงการนี้คือ เพื่อกระตุ้นให้เด็กได้เรียนรู้เกี่ยวกับข้อกำหนดทางกฎหมาย สิทธิของตนเอง และวิธีที่เหมาะสมในการป้องกันการใช้อินเทอร์เน็ตในทางที่ผิด
2.จงอธิบายความหมายของ
2.1 Hacker ผู้ที่มีความรู้ความเข้าใจในระบบคอมพิวเตอร์อย่างสูงมาก ไม่ว่าจะเป็นเรื่องเครือข่าย , ระบบปฏิบัติการ  จนสามารถเข้าใจว่าระบบมีช่องโหว่ตรงไหน หรือสามารถไปค้นหาช่องโหว่ได้จากตรงไหนบ้าง เมื่อก่อนภาพลักษณ์ของ Hacker จะเป็นพวกชั่วร้าย ชอบขโมยข้อมูล หรือ ทำลายให้เสียหาย  แต่เดี๋ยวนี้ คำว่า Hacker หมายถึง Security Professional ที่คอยใช้ความสามารถช่วยตรวจตราระบบ และแจ้งเจ้าของระบบว่ามีช่องโหว่ตรงไหนบ้าง อาจพูดง่ายๆว่าเป็น Hacker ที่มีจริยธรรมนั่นเอง ในต่างประเทศมีวิชาที่สอนถึงการเป็น Ethical Hacker หรือ แฮกเกอร์แบบมีจริยธรรม ซึ่งแฮกเกอร์แบบนี้เรียกอีกอย่างว่า White Hat Hacker ก็ได้ ส่วนพวกที่นิสัยไม่ดีเราจะเรียกว่าพวกนี้ว่า Cracker หรือ Black Hat Hacker ซึ่งก็คือ มีความสามารถเหมือน Hacker ทุกประการ เพียงแต่พฤติกรรมของ Cracker นั้นจะเป็นการกระทำที่ขาดจริยธรรรม เช่น ขโมยข้อมูลหรือเข้าไปทำลายระบบคอมพิวเตอร์ให้ทำงานไม่ได้ เป็นต้น
2.2 Cracker บุคคลที่บุกรุกหรือรบกวนระบบคอมพิวเตอร์ที่อยู่ห่างไกลด้วยเจตนาร้าย cracker เมื่อบุกรุกเข้าสู่ระบบ จะทำลายข้อมูลที่สำคัญทำให้ผู้ใช้ไม่สามารถใช้งานคอมพิวเตอร์ หรืออย่าง น้อย
ทำให้เกิดปัญหาในระบบคอมพิวเตอร์ของเป้าหมาย โดยกระทำของ cracker มีเจตนามุ่งร้ายเป็นสำคัญ คำจำกัดความเหล่านี้ถูกต้องและอาจใช้โดยทั่วไปได้อย่างไรก็ตามยังมีบททดสอบอื่นอีก เป็นบททดสอบทางกฏหมายโดยการใช้เหตุผลทางกฏหมายเข้ามาใช้ในสมการ
2.3 สแปม การส่งข้อความถึงผู้ที่ไม่ต้องการรับ ก่อให้เกิดความรำคาญ ละเมิดสิทธิความเป็นส่วนตัว และผิดกฏหมาย ลักษณะของสแปม คือ ไม่ปรากฏชื่อผู้ส่ง (Anonymous) ส่งโดยไม่เลือกเจาะจง (Indiscriminate) และ ส่งได้ทั่วโลก (Global) การ SPAM มีทั้ง การสแปมเมล์ (Spam Mail) และ การสแปมบอร์ด ( Spam Board )
2.4 ม้าโทรจัน  โปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ถูกบรรจุเข้าไปในคอมพิวเตอร์ เพื่อลอบเก็บข้อมูลของคอมพิวเตอร์เครื่องนั้น เช่น ข้อมูลชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน เลขที่บัญชีธนาคาร หมายเลขบัตรเครดิต และข้อมูลส่วนบุคคลอื่น ๆ โดยส่วนใหญ่แฮกเกอร์จะส่งโปรแกรมเข้าไปในคอมพิวเตอร์เพื่อดักจับข้อมูลดังกล่าว แล้วนำไปใช้ในการเจาะระบบ และเพื่อโจมตีคอมพิวเตอร์, เซิร์ฟเวอร์, หรือระบบเครือข่ายอีกที ซึ่งเป็นที่รู้จักกันในชื่อการโจมตีเพื่อ "ปฏิเสธการให้บริการ" (Denial of Services)
2.5 สปายแวร์ โปรแกรมที่แฝงเข้ามาในคอมพิวเตอร์ขณะที่คุณท่องอินเตอร์เน็ต ถูกเขียนขึ้นมาสอดส่อง การใช้งานเครื่องคอมพิวเตอร์ของคุณ และจะทำการเก็บพฤติกรรมการใช้งานอินเตอร์เน็ตของเรา รวมถึงข้อมูลส่วนตัวหลาย ๆ อย่างได้แก่ ชื่อ - นามสกุล , ที่อยู่ , E-Mail --mlinkarticle--} Address และอื่น ๆ ซึ่งอาจจะรวมถึงสิ่งสำคัญต่าง ๆ เช่น Password หรือ หมายเลข บัตรเครดิตของเราด้วย นอกจากนี้อาจจะมีการสำรวจโปรแกรม และไฟล์ต่าง ๆ ในเครื่องเราด้วย  และ Spyware นี้จะทำการส่งข้อมูลดังกล่าวไปในเครื่องปลายทางที่โปรแกรมได้ระบุเอาไว้ ดังนั้นข้อมูลต่าง ๆ ในเครื่องของคุณอาจไม่เป็นความลับอีกต่อไป spyware อาจเข้ามาเพื่อโฆษณาสินค้าต่าง ๆ บางตัวก็สร้างความรำคาญเพราะจะเปิดหน้าต่างโฆษณาบ่อย ๆ แต่บางตัวร้ายกว่านั้น คือ ทำให้คุณใช้อินเตอร์เน็ทไม่ได้เลย
3.จงยกตัวอย่ากฎหมาย ICT หรือ พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ มีอะไรบ้าง จงอธิบายถึงการกระทำผิดและบทลงโทษ มา5ตัวอย่าง
1.เจ้าของไม่ให้เข้าระบบคอมพิวเตอร์ของเขา แล้วเราแอบเข้าไป … จำคุก 6 เดือน
2.ข้อมูลของเขาอยู่ในระบบคอมพิวเตอร์ของเขาดี ๆ เราดันมือบอนไปโมมันซะงั้น...จำคุกไม่เกิน5ปี
3.ข้อมูลของเขา เขาเก็บไว้ในระบบคอมพิวเตอร์ดี ๆ แล้วแอบไปล้วงของเขา … จำคุกไม่เกิน 2 ปี
4.เขาส่งข้อมูลหากันผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์แบบส่วน ตั๊วส่วนตัว แล้วเราทะลึ่งไปดักจับข้อมูลของเขา … จำคุกไม่เกิน 3 ปี
5.ระบบคอมพิวเตอร์ของชาวบ้านทำงานอยู่ดี ๆ เราดันยิง packet หรือ message หรือ virus หรือ trojan หรือ worm หรือ (โอ๊ยเยอะ) เข้าไปก่อกวนจนระบบเขาเดี้ยง … จำคุกไม่เกิน 5 ปี


วันเสาร์ที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

ส่งงานอาจารย์ปิยนันท์ คุณากรสกุล

1. จงอธิบายความหมาย พร้อมยกตัวอย่างของคำดังต่อไปนี้
ฮาร์ดแวร์ (Hardware)
ฮาร์ดแวร์ หมาย ถึง อุปกรณ์ต่างๆ ที่ประกอบขึ้นเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ มีลักษณะเป็นโครงร่างสามารถมองเห็นด้วยตาและสัมผัสได้ (รูปธรรม) เช่น จอภาพ คีย์บอร์ด เครื่องพิมพ์ เมาส์ เป็นต้น ซึ่งสามารถแบ่งออกเป็นส่วนต่างๆ ตามลักษณะการทำงาน ได้ 4 หน่วย คือ
  • หน่วยรับข้อมูล (Input Unit)
  • หน่วยประมวลผลกลาง (Central Processing Unit : CPU )
  • หน่วยแสดงผล (Output Unit )
  • หน่วยเก็บข้อมูลสำรอง (Secondary Storage) โดยอุปกรณ์แต่ละหน่วยมีหน้าที่การทำงานแตกต่างกัน
ซอฟท์แวร์ (Software)
ซอฟท์แวร์ หมาย ถึง ส่วนที่มนุษย์สัมผัสไม่ได้โดยตรง (นามธรรม) เป็นโปรแกรมหรือชุดคำสั่ง ที่ถูกเขียนขึ้นเพื่อ สั่งให้เครื่อง คอมพิวเตอร์ทำงาน ซอฟต์แวร์จึงเป็นเหมือนตัวเชื่อมระหว่างผู้ใช้เครื่องคอมพิวเตอร์และเครื่อง คอมพิวเตอร์ ถ้าไม่มีซอฟต์แวร์เรา ก็ไม่สามารถใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำอะไรได้เลย ซอฟต์แวร์สำหรับเครื่องคอมพิวเตอร์สามารถแบ่งออกได้เป็น
1. ซอฟต์แวร์สำหรับระบบ (System Software)
คือ ชุดของคำสั่งที่เขียนไว้เป็นคำสั่งสำเร็จรูป ซึ่งจะทำงานใกล้ชิดกับคอมพิวเตอร์มากที่สุด เพื่อคอยควบคุมการ ทำงาน ของฮาร์ดแวร์ทุกอย่าง และอำนวยความสะดวกให้กับผู้ใช้ในการใช้งาน ซอฟต์แวร์หรือโปรแกรมระบบที่รู้จักกันดีก็คือ DOS, Windows, Unix, Linux รวมทั้งโปรแกรมแปลคำสั่งที่เขียนในภาษาระดับสูง เช่น ภาษา Basic, Fortran, Pascal, Cobol, C เป็นต้น นอกจากนี้โปรแกรมที่ใช้ในการตรวจสอบระบบเช่น Norton’s Utilities ก็นับเป็นโปรแกรมสำหรับระบบด้วยเช่นกัน
2. ซอฟต์แวร์ประยุกต์ (Application Software)
คือ ซอฟต์แวร์หรือโปรแกรมที่นำมาให้คอมพิวเตอร์ทำงานต่างๆ ตามที่ผู้ใช้ต้องการ ไม่ว่าจะด้านเอกสาร บัญชี การจัดเก็บ ข้อมูล เป็นต้น ซอฟต์แวร์ประยุกต์สามารถจำแนกได้เป็น 2 ประเภท คือ
·                     ซอฟต์แวร์สำหรับงานเฉพาะด้าน คือ โปรแกรมซึ่งเขียนขึ้นเพื่อการทำงานเฉพาะอย่างที่เราต้องการ บางที่เรียกว่า User’s Program เช่น โปรแกรมการทำบัญชีจ่ายเงินเดือน โปรแกรมระบบเช่าซื้อ โปรแกรมการทำสินค้าคงคลัง เป็นต้น ซึ่งแต่ละ โปรแกรม ก็มักจะมีเงื่อนไข หรือแบบฟอร์มแตกต่างกันออกไปตามความต้องการ หรือกฏเกณฑ์ของ แต่ละหน่วยงาน ที่ใช้ ซึ่งสามารถ ดัดแปลงแก้ไขเพิ่มเติม (Modifications) ใน บางส่วนของโปรแกรมได้ เพื่อให้ตรงกับความต้องการของผู้ใช้ และ ซอฟต์แวร์ประยุกต์ที่เขียน ขึ้นนี้โดยส่วนใหญ่มักใช้ภาษาระดับสูงเป็นตัวพัฒนา
·                     ซอฟต์แวร์ สำหรับงานทั่วไป เป็นโปรแกรมประยุกต์ที่มีผู้จัดทำไว้ เพื่อใช้ในการทำงานประเภทต่างๆ ทั่วไป โดย ผู้ใช้คนอื่นๆ สามารถนำโปรแกรมนี้ไปประยุกต์ใช้กับข้อมูลของตนได้ แต่จะไม่สามารถทำการดัดแปลง หรือแก้ไขโปรแกรมได้ ผู้ใช้ไม่จำ เป็นต้องเขียนโปรแกรมเอง ซึ่งเป็นการประหยัดเวลา แรงงาน และค่าใช้จ่ายในการเขียนโปรแกรม นอกจากนี้ ยังไม่ต้อง เวลามากในการฝึกและปฏิบัติ ซึ่งโปรแกรมสำเร็จรูปนี้ มักจะมีการใช้งานในหน่วยงานเรา ขาดบุคลากร ที่มีความชำนาญ เป็นพิเศษ ในการเขียนโปรแกรม ดังนั้น การใช้โปรแกรมสำเร็จรูปจึงเป็นสิ่งที่อำนวยความสะดวก และเป็นประโยชน์อย่างยิ่ง ตัวอย่างโปรแกรม สำเร็จรูปที่นิยมใช้ได้แก่ MS-Office, Lotus, Adobe Photoshop, SPSS, Internet Explorer และ เกมส์ต่างๆ เป็นต้น

บุคลากร(People ware)
  • บุคลากร ( people ware) หมาย ถึง บุคลากรในงานด้านคอมพิวเตอร์ ซึ่งมีความรู้เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ สามารถใช้งาน สั่งงานเพื่อ ให้คอมพิวเตอร์ทำงาน ตามที่ต้องการ แบ่งออกได้ 4 ระดับ ดังนี้ผู้จัดการระบบ (System Manager) คือ ผู้วางนโยบายการใช้คอมพิวเตอร์ให้เป็นไปตามเป้าหมายของหน่วยงาน
  • นักวิเคราะห์ระบบ (System Analyst) คือ ผู้ที่ศึกษาระบบงานเดิมหรืองานใหม่และทำการวิเคราะห์ความเหมาะสม ความเป็นไปได้ในการใช้คอมพิวเตอร์กับระบบงาน เพื่อให้โปรแกรมเมอร์เป็นผู้ที่เขียนโปรแกรมให้กับระบบงาน
  • โปรแกรมเมอร์ (Programmer) คือ ผู้เขียนโปรแกรมสั่งงานเครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อให้ทำงานตามความต้องการของ ผู้ใช้ โดยเขียนตาม แผนผังที่นักวิเคราะห์ ระบบได้เขียนไว้
  • ผู้ใช้ (User) คือ ผู้ใช้งานคอมพิวเตอร์ทั่วไป ซึ่งต้องเรียนรู้วิธีการใช้เครื่อง และวิธีการใช้งานโปรแกรม เพื่อให้โปรแกรม ที่มีอยู่สามารถทำงานได้ตามที่ต้องการเนื่องจากเป็นผู้กำหนดโปรแกรมและใช้ งานเครื่องคอมพิวเตอร์ มนุษย์จึงเป็น ตัวแปรสำคัญในอันที่จะทำให้ผลลัพธ์มีความน่าเชื่อถือ เนื่องจากคำสั่งและข้อมูลที่ใช้ในการประมวลผล ได้รับจากการ กำหนดของมนุษย์ (People ware) ทั้งสิ้น
ข้อมูล (Data)
ข้อมูล (Data) ข้อมูล เป็นองค์ประกอบที่สำคัญอย่างหนึ่งในระบบคอมพิวเตอร์ เป็นสิ่งที่ต้องป้อนเข้าไปในคอมพิวเตอร์ พร้อมกับ โปรแกรมที่นักคอมพิวเตอร์เขียน ขึ้นเพื่อผลิตผลลัพธ์ที่ต้องการออกมา ข้อมูลที่สามารถนำมาใช้กับคอมพิวเตอร์ได้ มี 5 ประเภท คือ ข้อมูลตัวเลข (Numeric Data) ข้อมูลตัวอักษร (Text Data) ข้อมูลเสียง (Audio Data) ข้อมูลภาพ (Images Data) และข้อมูลภาพเคลื่อนไหว (Video Data)



สารสนเทศ (Information)
- สารสนเทศ (Information) หมาย ถึง ข้อมูลต่างๆ ที่ได้ผ่านการเปลี่ยนแปลงหรือมี การประมวลหรือวิเคราะห์ผลสรุปด้วยวิธีการต่างๆ ให้อยู่ในรูปแบบที่มีความสัมพันธ์กัน มีความหมาย มีคุณค่าเพิ่มขึ้นและมีวัตถุประสงค์ในการใช้งาน
- สารสนเทศ (Information) หมายถึง ความรู้หรือข้อมูลและข้อเท็จจริงต่างๆ ที่ได้รับการประมวลแล้วและสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้
บุคลากร(People ware)
  • บุคลากร ( people ware) หมาย ถึง บุคลากรในงานด้านคอมพิวเตอร์ ซึ่งมีความรู้เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ สามารถใช้งาน สั่งงานเพื่อ ให้คอมพิวเตอร์ทำงาน ตามที่ต้องการ แบ่งออกได้ 4 ระดับ ดังนี้ผู้จัดการระบบ (System Manager) คือ ผู้วางนโยบายการใช้คอมพิวเตอร์ให้เป็นไปตามเป้าหมายของหน่วยงาน
  • นักวิเคราะห์ระบบ (System Analyst) คือ ผู้ที่ศึกษาระบบงานเดิมหรืองานใหม่และทำการวิเคราะห์ความเหมาะสม ความเป็นไปได้ในการใช้คอมพิวเตอร์กับระบบงาน เพื่อให้โปรแกรมเมอร์เป็นผู้ที่เขียนโปรแกรมให้กับระบบงาน
  • โปรแกรมเมอร์ (Programmer) คือ ผู้เขียนโปรแกรมสั่งงานเครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อให้ทำงานตามความต้องการของ ผู้ใช้ โดยเขียนตาม แผนผังที่นักวิเคราะห์ ระบบได้เขียนไว้
  • ผู้ใช้ (User) คือ ผู้ใช้งานคอมพิวเตอร์ทั่วไป ซึ่งต้องเรียนรู้วิธีการใช้เครื่อง และวิธีการใช้งานโปรแกรม เพื่อให้โปรแกรม ที่มีอยู่สามารถทำงานได้ตามที่ต้องการเนื่องจากเป็นผู้กำหนดโปรแกรมและใช้ งานเครื่องคอมพิวเตอร์ มนุษย์จึงเป็น ตัวแปรสำคัญในอันที่จะทำให้ผลลัพธ์มีความน่าเชื่อถือ เนื่องจากคำสั่งและข้อมูลที่ใช้ในการประมวลผล ได้รับจากการ กำหนดของมนุษย์ (People ware) ทั้งสิ้น

ข้อมูล (Data)
ข้อมูล (Data) ข้อมูล เป็นองค์ประกอบที่สำคัญอย่างหนึ่งในระบบคอมพิวเตอร์ เป็นสิ่งที่ต้องป้อนเข้าไปในคอมพิวเตอร์ พร้อมกับ โปรแกรมที่นักคอมพิวเตอร์เขียน ขึ้นเพื่อผลิตผลลัพธ์ที่ต้องการออกมา ข้อมูลที่สามารถนำมาใช้กับคอมพิวเตอร์ได้ มี 5 ประเภท คือ ข้อมูลตัวเลข (Numeric Data) ข้อมูลตัวอักษร (Text Data) ข้อมูลเสียง (Audio Data) ข้อมูลภาพ (Images Data) และข้อมูลภาพเคลื่อนไหว (Video Data)


สารสนเทศ (Information)
- สารสนเทศ (Information) หมาย ถึง ข้อมูลต่างๆ ที่ได้ผ่านการเปลี่ยนแปลงหรือมี การประมวลหรือวิเคราะห์ผลสรุปด้วยวิธีการต่างๆ ให้อยู่ในรูปแบบที่มีความสัมพันธ์กัน มีความหมาย มีคุณค่าเพิ่มขึ้นและมีวัตถุประสงค์ในการใช้งาน
- สารสนเทศ (Information) หมายถึง ความรู้หรือข้อมูลและข้อเท็จจริงต่างๆ ที่ได้รับการประมวลแล้วและสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้
2. หากนักศึกษาเป็นเจ้าของธุรกิจ ดังต่อไปนี้ (เลือก 1 ธุรกิจ) จะนำองค์ประกอบของคอมพิวเตอร์ ได้แก่ Hardware, Software และ People ware ใดมาใช้ในธุรกิจบ้าง เพราะเหตุใดจงอธิบาย
ร้านอาหาร

ร้าน อาหาร เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์สำหรับธุรกิจร้านอาหาร การ ให้บริการลูกค้าที่รวดเร็วเป็นสิ่งหนึ่งที่ช่วยเพิ่มจุดแข็งในการแข่งขัน กับธุรกิจประเภทเดียวกัน จึงต้องมีเทคโนโลยีที่เข้ามาช่วยในการบริหารแก้ปัญหาด้านบริการด้วย เทคโนโลยี
1. รับออเดอร์ได้รวดเร็วทันใจ
2. ให้บริการได้อย่างรวดเร็วอย่างที่ลูกค้าต้องการ
3. เพิ่ม ลด หรือเปลี่ยนแปลงออเดอร์ได้อย่างไม่มีปัญหา
4. เช็คบิลได้รวดเร็ว และถูกต้อง
5. รองรับการขยายธุรกิจในอนาคตารและบริการเพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้
มากขึ้นเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจนี้ได้แก่......
1. Wireless Service Button หรือ Wireless Service Ball
เป็น ระบบที่ช่วยอำนวยความสะดวกให้กับลูกค้าในการเรียกบริการที่สามารถมอบบริการ แบบทันท่วงที และเพื่อบริหารพนักงานในร้านให้มีการบริการที่มีประสิทธิภาพ ทำให้ลูกค้ารับรู้ได้ถึงความเอาใจใส่และการได้รับบริการเป็นอย่างดี อุปกรณ์ชนิดนี้เป็นอุปกรณ์ที่สื่อสารแบบไร้สาย เพียงลูกค้ากดปุ่มที่โต๊ะอาหารจากนั้นบริการก็จะเห็นจากแผงแสดงผล (Wireless Service Bell Receiver) ว่า มีโต๊ะไหนเรียก ทางบริกรเองก็จะมีอุปกรณ์ตอบรับติดตัวอยู่ โดยเมื่อทราบว่ามีการเรียกใช้บริการ ก็จะตอบรับกลับไป และพร้อมไปบริการตามคำสั่งโดยเร็ว นอกจากนี้อุปกรณ์ชนิดนี้ยังทำให้ร้านอาหารดูดียิ่งขึ้น ทั้งยังเพิ่มความสะดวกสบายให้ผู้ใช้งานและยังทำให้ผู้ใช้ รู้สึกสนุกกับการใช้งานอีกด้วย 2. Wireless Service Bell Receiver
อุปกรณ์นี้สามารถจัดการระเบียบการทำ งานของพนักงานเสริฟ์ได้อย่างดี เพื่อตอบสนองการบริการของลูกค้าได้ทันท่วงที โดยใช้เวลาน้อยกว่าการบริการแบบเดิมๆ โดยเมื่อลูกค้ากดปุ่มที่โต๊ะอาหารของลูกค้า พนักงานก็จะทราบทันทีว่าโต๊ะไหนเรียกโดยดูจากแผง นี้ พนักงานจึงบริการลูกค้าได้ทันท่วงที ทำให้การบริการมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นWireless Service Bell Receiver 3. Pocket PC
การ รับออเดอร์ด้วยพ็อกเก็ตพีซีช่วยทำ ให้การบริการทำได้รวดเร็วขึ้น ในกรณีที่มีลูกค้าจำนวนมากก็สามารถสั่งอาหารได้ก่อนที่โต๊ะจะว่าง ทำให้ลูกค้าไม่ต้องรออาหารเป็นเวลานาน เมื่อลูกค้าต้องการสั่งอาหารเพิ่ม หรือยกเลิกอาหาร หรือเปลี่ยนแปลงออเดอร์ ก็สามารถทำได้อย่างถูกต้อง และได้รับบริการอย่างรวดเร็ว เมื่อพนักงานจดออเดอร์ในพ็อกเต็ตพีซีเรียบร้อย ข้อมูลก็จะถูกส่งไปยังห้องครัวทันที พ่อครัวก็สามารถเตรียมอาหารให้ได้ โดยไม่ต้องรอพนักงานเดินมาส่งและเนื่องจากข้อมูลต่างๆ ที่ลูกค้าได้ออเดอร์ไว้ถูกบันทึกด้วยพ็อกเก็ตพีซี จึงมีความถูกต้องสูง ดังนั้นการคิดค่าบริการหรือค่าอาหารจะไม่ทำให้เกิดการผิดพลาดเหมือนระบบ Manual และให้บริการได้อย่างรวดเร็วทุกขั้นตอน Wireless LAN
เป็น ระบบเชื่อมโยงระหว่างคอมพิวเตอร์ หรือเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่ใช้สายเข้าด้วยกัน หรือเชื่อมต่อกับอินเตอร์เน็ต โดยอาศัยคลื่นวิทยุ (Radio Frequency: RF) รับส่งข้อมูลแทนสายเคเบิล คลื่นวิทยุที่ใช้อยู่ในย่านความถี่ ISM (Industrial Scientific and Medical) ซึ่งเป็นย่านความถี่สาธารณะสามารถใช้งานโดยไม่ต้องขออนุญาต โดยแต่ละประเทศมีช่องสัญญาณที่อนุญาตให้ใช้งานต่างกัน  Access Point
เป็นเครื่องรับและส่งสัญญาณจาก อุปกรณ์ไร้สายเมื่อรับข้อมูลทางคลื่นวิทยุจากคอมพิวเตอร์ต้นทาง Access Point จะส่งข้อมูลต่อไปยังคอมพิวเตอร์ปลายทางซึ่งอาจเป็นคอมพิวเตอร์ในเครือข่าย ไร้สายเดียวกันผ่านคลื่นวิทยุ
ข้อ3. ให้นักศึกษา แสดงข้อมูลจำนวนหนึ่งชุด พร้อมทั้งแสดงในรูปแบบของระบบสารสนเทศ
การแสดงค่าน้ำ-ค่าไปประจำปี 2555 แบบตาราง







วันศุกร์ที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

3.วิวัฒนาการของเทคโนโลยีสารสนเทศมีอะไรบ้าง จงอธิบายพร้อมยกตัวอย่าง
เทคโนโลยีสารสนเทศที่ใช้ในการจัดการมากที่สุด คือ เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ การใช้ระบบคอมพิวเตอร์พอจะเรียงลำดับได้ดังนี้
                      ยุคแรก เรียกว่า ยุคการประมวลผลข้อมูล(Data Processing Era) เพื่อใช้ในการคำนวณและการประมวลผลข้อมูล
                      ยุคที่ 2 มีการใช้คอมพิวเตอร์ช่วยในการตัดสินใจดำเนินการควบคุม ติดตามผล และวิเคราะห์ผลงานของผู้บริหารระดับต่างๆ เรียกว่า   ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ (Management Information System :MIS)
                      ยุคที่ 3 การใช้คอมพิวเตอร์ในการจัดการทรัพยากรสารสนเทศ (Information Resource Management) เพื่อเรียกใช้สารสนเทศที่ช่วยในการตัดสินใจนำหน่วยงานไปสู่ความสำเร็จ
                      ในยุคปัจจุบัน ความเจริญของเทคโนโลยีสูงมาก มีการขยายขอบเขตของการประมวลผลข้อมูลไปสู่การสร้างและการผลิตสารสนเทศทำให้สามารถสร้างทางเลือกและรูปแบบใหม่ของสินค้าและบริการ ซึ่งเรียกว่า
                                 ยุคเทคโนโลยีสารสนเทศ(Information Technology :IT) หรือยุคไอที โดยการใช้ระบบคอมพิวเตอร์และระบบการสื่อสารโทรคมนาคมเป็นเครื่องมือช่วยในการจัดทำระบบสารสนเทศ และเน้นความคิดเรื่องการให้บริการสารสนเทศแก่ผู้ใช้อย่างมีประสิทธิภาพเป็นวัตถุประสงค์สำคัญ
2.โครงสร้างสารสนเทศมีอะไรบ้าง จงอธิบายพร้อมยกตัวอย่าง
ระบบสารสนเทศจำแนกตามโครงสร้างองค์การ (Classification by Organizational Structure)
การจำแนกประเภทนี้เป็นการจำแนกตามโครงสร้างขององค์การ ตั้งแต่ระดับหน่วยงานย่อยระดับองค์การทั้งหมด และระดับระหว่างองค์การ
สารสนเทศของหน่วยงานย่อย (Departmental information system)
หมายถึงระบบสารสนเทศที่ออกมาเพื่อใช้สำหรับหน่วยงานใดหน่วยงานหนึ่งขององค์การ โดยแต่ละหน่วยงานอาจมีโปรแกรมประยุกต์ใช้งานใดงานหนึ่งของตนโดยเฉพาะ เช่น ฝ่ายบุคลากรอาจจะมีโปรแกรมสำหรับการคัดเลือกบุคคล หรือติดตามผลการโยกย้ายงานของเจ้าหน้าที่ในหน่วยงาน โดยโปรแกรมทั้งหมดที่เกี่ยวข้องของฝ่ายบุคลากร จะมีชื่อว่าระบบสารสนเทศด้านทรัพยากรมนุษย์ (Human resources information systems)
ระบบสารสนเทศของทั้งองค์การ (Enterprise information systems)
หมายถึงระบบสารสนเทศของหน่วยงานที่มีการเชื่อมโยงกับหน่วยงานที่ทั้งหมดภายในองค์การ หรืออีกนัยหนึ่งก็คือองค์การนั้นมีระบบสารสนเทศที่เชื่อมโยงทั้งองค์การ
ระบบสารสนเทศที่เชื่อมโยงระหว่างองค์การ (Interorganizational information systems-IOS)
เป็นระบบสารสนเทศที่เชื่อมโยงกับองค์การอื่นๆ ภายนอกตั้งแต่ 2 องค์การขึ้นไป เพื่อช่วยให้การติดต่อสื่อสาร หรือการประสานงานร่วมมือมีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยการผ่านระบบ IOS จะช่วยทำให้การไหลของสารสนเทศระหว่างองค์การหรือทั้งซัพพลายเชน (Supply chain) เป็นไปโดยอัตโนมัติ เพื่อใช้ในการวางแผน ออกแบบ การพัฒนา การผลิต และการส่งสินค้าและบริการ
การจำแนกตามหน้าที่ขององค์การ (Classification by Functional Area)
การจำแนกระบบสารสนเทศประเภทนี้จะเป็นการสนับสนุนการทำงานตาหน้าที่หรือการทำกิจกรรมต่างๆ ขององค์การ โดยทั่วไปองค์การมักใช้ระบบสารสนเทศในงานที่เกี่ยวข้องกับหน้าที่ต่างๆ เช่น
  • ระบบสารสนเทศด้านบัญชี (Accounting information system)
  • ระบบสารสนเทศด้านการเงิน (Finance information system)
  • ระบบสารสนเทศด้านการผลิต (Manufacturing information system)
  • ระบบสารสนเทศด้านการตลาด (Marketing information system)
  • ระบบสารสนเทศด้านทรัพยากรมนุษย์ (Human resource management information system)
การจำแนกตามการให้การสนับสนุนของระบบสารสนเทศ (Classification by Support Provided)
การจำแนกตามการให้การสนับสนุนของระบบสารสนเทศ แบ่งเป็น 3 ประเภทย่อย คือ ระบบสารสนเทศแบบประมวลรายการ (Transaction Processing Systems) ระบบสารสนเทศแบบรายงานเพื่อการจัดการ (Management Reporting Systems) และระบบสารสนเทศเพื่อสนับสนุนการตัดสินใจ (Decision Support Systems)
ระบบสารสนเทศแบบรายงานเพื่อการจัดการ (Management Reporting Systems)
เป็นระบบสารสนเทศที่ช่วยในการทำรายงานตามระยะเวลาที่กำหนดไว้ และช่วยในการตัดสินใจที่มีลักษณะโครงสร้างชัดเจนและเป็นเรื่องที่ทราบล่วงหน้า
ระบบสารสนเทศเพื่อสนับสนุนการตัดสินใจ (Decision Support Systems)
เป็นระบบสารสนเทศที่ช่วยผู้บริหารตัดสินใจเชิงกลยุทธ์ มีความยืดหยุ่นสูง และมีลักษณะโต้ตอบได้ (interactive) โดยอาจมีการใช้โมเดลการตัดสินใจ หรือการใช้ฐานข้อมูลพิเศษช่วยในการตัดสินใจ
ระบบสารสนเทศแบบประมวลรายการ(Transaction Processing Systems -TPS)
เป็นระบบสารสนเทศที่เกี่ยวกับการบันทึกและประมวลข้อมูลที่เกิดจาก ธุรกรรมหรือการปฏิบัติงานประจำหรืองานขั้นพื้นฐานขององค์การ เช่น การซื้อขายสินค้า การบันทึกจำนวนวัสดุคงคลัง เมื่อใดก็ตามที่มีการทำธุรกรรมหรือปฏิบัติงานในลักษณะดังกล่าวข้อมูลที่เกี่ยวข้องจะเกิดขึ้นทันที เช่น ทุกครั้งที่มีการขายสินค้า ข้อมูลที่เกิดขึ้นก็คือ ชื่อลูกค้า ประเภทของลูกค้า จำนวนและราคาของสินค้าที่ขายไป รวมทั้งวิธีการชำระเงินของลูกค้า
วัตถุประสงค์ของ  TPS
1.   มุ่งจัดหาสารสนเทศทั้งหมดที่หน่วยงานต้องการตามนโยบายของหน่วยงานหรือตามกฎหมาย เพื่อช่วยในการปฏิบัติงาน
2.   เพื่อเอื้ออำนวยต่อการปฏิบัติงานประจำให้มีความรวดเร็ว
3.   เพื่อเป็นหลักประกันว่าข้อมูลและสารสนเทศของหน่วยงานมีความ ถูกต้องเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันและรักษาความลับได้
4. เพื่อเป็นสารสนเทศที่ป้อนข้อมูลเข้าสู่ระบบสารสนเทศที่ใช้ในการตัดสินใจอื่น เช่น MRS หรือ DSS
หน้าที่ของ TPS
หน้าที่ของ TPS มีดังนี้
1. การจัดกลุ่มของข้อมูล (Classification) คือ การจัดกลุ่มข้อมูลลักษณะเหมือนกันไว้ด้วยกัน

2. การคิดคำนวณ (Calculation) การคิดคำนวณโดยใช้วิธีการคณิตศาสตร์ เช่น บวก ลบ คูณ หาร เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่เป็นประโยชน์ เช่น การคำนวณภาษีขายทั้งหมดที่ต้องจ่ายในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา

3. การเรียงลำดับข้อมูล (Sorting) การจัดเรียงข้อมูลเพื่อทำให้การประมวลผลง่ายขึ้น เช่น การจัดเรียง invoices ตามรหัสไปรษณีย์เพื่อให้การจัดส่งเร็วยิ่งขึ้น

4. การสรุปข้อมูล (Summarizing) เป็นการลดขนาดของข้อมูลให้เล็กหรือกะทัดรัดขึ้น เช่น การคำนวณเกรดเฉลี่ยของนักศึกษาแต่ละคน

5. การเก็บ (Storage)  การบันทึกเหตุการณ์ที่มีผลต่อการปฏิบัติงาน อาจจำเป็นต้องเก็บรักษาข้อมูลไว้ โดยเฉพาะข้อมูลบางประเภทที่จำเป็นต้องเก็บรักษาไว้ตามกฎหมาย ที่จริงแล้ว TPS เกี่ยวข้องกับงานทุกระดับในองค์การ แต่งานส่วนใหญ่ของ TPS จะเกิดขึ้นในระดับปฏิบัติการมากกว่า แม้ว่า TPS จะจำเป็นในการปฏิบัติงานในองค์การแต่ระบบ TPS ก็ไม่เพียงพอในการสนับสนุนในการตัดสินใจของผู้บริหาร ดังนั้นองค์การจึงจำเป็นต้องมีระบบอื่นสำหรับช่วยผู้บริหารด้วย ดังจะกล่าวต่อไป

ลักษณะสำคัญของระบบสารสนเทศแบบ TPS
ลักษณะที่สำคัญของระบบ TPS มีดังนี้
  • มีการประมวลผลข้อมูลจำนวนมาก
  • แหล่งข้อมูลส่วนใหญ่มาจากภายในและผลที่ได้เพื่อตอบสนองต่อผู้ใช้ภายในองค์การเป็นหลัก อย่างไรก็ตามในปัจจุบันหุ้นส่วนทางการค้าอาจจะมีส่วนใน การป้อนข้อมูลและอนุญาตให้หน่วยงานที่เป็นหุ้นส่วนใช้ผลที่ได้จาก TPS โดยตรง
  • กระบวนการประมวลผลข้อมูลมีการดำเนินการเป็นประจำ เช่น ทุกวัน ทุกสัปดาห์ ทุกสองสัปดาห์
  • มีความสามารถในการเก็บฐานข้อมูลจำนวนมาก
  • มีการประมวลผลข้อมูลที่รวดเร็ว เนื่องจากมีปริมาณข้อมูลจำนวนมาก
  • TPS จะคอยติดตามและรวบรวมข้อมูลภายหลังที่ผลิตข้อมูลออกมาแล้ว
  • ข้อมูลที่ป้อนเข้าไปและที่ผลิตออกมามีลักษณะมีโครงสร้างที่ชัดเจน (structured data)
  • ความซับซ้อนในการคิดคำนวณมีน้อย
  • มีความแม่นยำค่อนข้างสูง การรักษาความปลอดภัย ตลอดจนการรักษาข้อมูลส่วนบุคคลมีความสำคัญเกี่ยวข้องโดยตรงกับ TPS
  • ต้องมีการประมวลผลที่มีความน่าเชื่อถือสูง
กระบวนการของ TPS
กระบวนการประมวลข้อมูลของ TPS มี 3 วิธี คือ
1. Batch processing การประมวลผลเป็นชุดโดย การรวบรวมข้อมูลที่เกิดจากธุรกรรมที่เกิดขึ้นและรวมไว้เป็นกลุ่มหรือเป็นชุด (batch) เพื่อตรวจสอบความถูกต้อง หรือจัดลำดับให้เรียบร้อยก่อนที่จะส่งไปประมวลผล โดยการประมวลผลนี้จะกระทำเป็นระยะๆ (อาจจะทำทุกคืน ทุก 2-3 วัน หรือทุกสัปดาห์)
2. Online processing คือ ข้อมูลจะได้รับการประมวลผล และทำให้เป็นเอาท์พุททันทีที่มีการป้อนข้อมูลของธุรกรรมเกิดขึ้น เช่น การเบิกเงินจากตู้ ATM จะประมวลผลและดำเนินการทันที เมื่อมีลูกค้าใส่รหัสและป้อนข้อมูลและคำสั่งเข้าไปในเครื่อง
3. Hybrid systems เป็นวิธีการผสมผสานแบบที่ 1) และ2) โดยอาจมีการรวบรวมข้อมูลที่เกิดขึ้นทันที แต่การประมวลผลจะทำในช่วงกระยะเวลาที่กำหนด เช่น แคชเชียร์ที่ป้อนข้อมูล การซื้อขายจากลูกค้าเข้าคอมพิวเตอร์ ณ จุดขายของ แต่การประมวลผลข้อมูลจากแคชเชียร์ทุกคนอาจจะทำหลังจากนั้น (เช่น หลังเลิกงาน)
Customer Integrated Systems (CIS)
เป็นระบบสารสนเทศซึ่งพัฒนามาจาก TPS โดยลูกค้าสามารถป้อนข้อมูลและทำการประมวลผลด้วยตนเองได้ เช่น ATM (Automated teller machines) ซึ่งช่วยให้ลูกค้า สามารถติดต่อกับธนาคารได้ทุกที่และทุกเวลา ATM ทำให้ลูกค้ามีความคล่องตัวในการเข้าถึง มากขึ้น และทำให้ธนาคารไม่จำเป็นต้องจ้างพนักงานจำนวนมากอีกต่อไป ซึ่งช่วยให้ธนาคารประหยัดเงินได้จำนวนหลายล้านบาทต่อปี ดังนั้นบางธนาคารจึงได้ส่งเสริมให้ลูกค้าในการใช้ ATM โดยการคิดค่าธรรมเนียมหากลูกค้าติดต่อกับพนักงานในการเบิกถอนเงิน ในลักษณะที่สามารถเบิกถอนได้กับเครื่อง ATM
นอกจากงานของธนาคารแล้ว ในปัจจุบัน มหาวิทยาลัยต่างๆ ได้นำระบบ CIS มาใช้เพื่อให้นักศึกษาสามารถลงทะเบียน โดยผ่านเครื่องโทรศัพท์ นอกจากนี้ CIS ยังช่วยให้ประชาชนสามารถจ่ายค่าน้ำค่าไปจากคอมพิวเตอร์ที่บ้านก็ได้

หน้าที่การทำงานของ TPS
งานเงินเดือน (Payroll)                              
• การติดตามเวลาการทำงานของพนักงาน
•  การคิดเงินเดือน โดยมีการหักภาษี ค่าประกัน หรือค่าใช้จ่ายอื่นๆ
• การออกเช็คเงินเดือนหรือการโอนเงินเดือนเข้าบัญชีให้กับลูกจ้าง
การสั่งซื้อสินค้า (Purchasing)             
• การสั่งซื้อหรือบริการต่างๆ
• การบันทึกข้อมูล การส่งสินค้าหรือบริการจากซัพพลายเออร์
การเงินและการบัญชี    (Finance and Accounting)                      
• การบันทึกข้อมูลเกี่ยวกับรายรับ         
• การบันทึกข้อมูลเกี่ยวกับภาษี
• การติดตามค่าใช้จ่ายต่างๆ
การขาย (Sales)                                   
• การบันทึกข้อมูลการขาย
• การออกใบเสร็จรับเงินหรือบิลส่งสินค้า
• การติดตามข้อมูลรายรับ
• การบันทึกการจ่ายหนี้
• การเก็บข้อมูลการส่งสินค้าหรือบริการไปยังลูกค้า
วัสดุคงคลัง                                        
• การติดตามการใช้วัสดุภายในหน่วยงาน(Inventory Management)     
• การติดตามระดับปริมาณของวัสดุคงเหลือ
• การสั่งซื้อวัสดุที่จำเป็น

ระบบสารสนเทศแบบรายงานเพื่อการจัดการ (Management Reporting Systems MRS)
ระบบสารสนเทศที่ช่วยในการทำรายงานตามระยะเวลาที่กำหนดไว้ โดยการสรุปสารสนเทศที่มีอยู่ไว้ในฐานข้อมูล หรือช่วยในการตัดสินใจในลักษณะที่โครงสร้างชัดเจนและเป็นเรื่องที่ทราบล่วงหน้า
หน้าที่ของแบบ MRS
1. ช่วยในการตัดสินใจงานประจำของผู้บริหารระดับกลาง
2. ช่วยในการทำรายงาน
3. ช่วยในการตัดสินใจที่เป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นบ่อยๆ และมีโครงสร้างแน่นอน เช่น การอนุมัติสินเชื่อให้กับลูกค้า
ลักษณะของ MRS
1. ช่วยในการจัดทำรายงานซึ่งมีรูปแบบที่กำหนดไว้เป็นมาตรฐานตายตัว
2. ใช้ข้อมูลภายในที่เก็บไว้ในฐานข้อมูล
3. ช่วยในการวางแผนงานประจำ และควบคุมการทำงาน
4. ช่วยในการตัดสินใจที่เกิดขึ้นประจำหรือเกิดขึ้นบ่อยๆ
5. มีข้อมูลในอดีต ปัจจุบัน และวิเคราะห์แนวโน้มอนาคต
6. ติดตามการดำเนินงานภายในหน่วยงานเปรียบเทียบผลการดำเนินงาน กับเป้าหมายและส่งสัญญาณหากมีจุดใดที่ต้องการการปรับปรุงแก้ไข
ประเภทของรายงาน MRS
รายงานจาก MRS มีลักษณะต่างๆ ดังนี้
1. รายงานที่จัดทำเมื่อต้องการ (Demand reports) เพื่อใช้สนับสนุนการตัดสินใจ เป็นรายงานที่จัดเตรียมรูปแบบรายงานล่วงหน้าและจะจัดทำเมื่อผู้บริหาร ต้องการเท่านั้น
2. รายงานที่ทำตามระยะเวลากำหนด (Periodic reports) โดยกำหนดเวลา และรูปแบบของรายงานไว้ล่วงหน้า เช่น มีการจัดทำรายงานทุกวัน ทุกสัปดาห์ ทุกเดือน ทุกปี เช่น ตารางเวลาการผลิต
3. รายงานสรุป (Summarized reports) เป็นการทำรายงานในภาพรวม เช่น รายงานยอดขายของพนักงานขาย จำนวนนักศึกษาลงทะเบียนวิชา MIS
4. รายงานเมื่อมีเงื่อนไขเฉพาะเกิดขึ้น (Exception reports) เป็นการจัดทำรายงานเมื่อมีเกณฑ์เงื่อนไขเฉพาะ เพื่อตรวจสอบเงื่อนไขต่างๆ ว่าแตกต่างจากที่วางแผนไว้หรือไม่ เช่น การกำหนดให้เศษของที่เหลือ (scrap) จากการผลิตในโรงงานเป็น 1 เปอร์เซ็นต์ แต่ในการผลิตช่วงหลังกลับมีเศษของที่เหลือ 5 เปอร์เซ็นต์ ดังนั้นอาจมีการเขียนโปรแกรม ในการประมวลผลเพื่อหาว่าเศษของที่เหลือเกินจากที่กำหนดไว้ได้อย่างไร
ระบบสารสนเทศเพื่อสนับสนุนการตัดสินใจ (Decision Support Systems-DSS)
ระบบสารสนเทศแบบ DSS เป็นระบบสารสนเทศที่ช่วยในการตัดสินใจ ซึ่งมีลักษณะมีโครงสร้างไม่ชัดเจน โดยนำข้อมูลมาจากหลายแหล่งช่วยในการนำเสนอและมีลักษณะยืดหยุ่นตามความต้องการ
ลักษณะของ DSS
1. ระบบสารสนเทศที่ใช้สำหรับการสนับสนุนผู้ตัดสินใจทางการบริหารทั้งที่เป็นตัวบุคคลหรือกลุ่ม โดยการตัดสินใจนั้นจะเกี่ยวข้องกับสถานการณ์ที่มีลักษณะเป็นแบบ ไม่มีโครงสร้าง (unstructured situations) โดยจะมีการนำวิจารณญาณของมนุษย์กับข้อมูล จากคอมพิวเตอร์มาใช้ประกอบในการตัดสินใจ
2. ระบบ DSS ช่วยในการตอบสนองความต้องการที่ไม่ได้คาดการณ์มาก่อนโดยผู้ใช้สามารถปรับข้อมูลใน DSS ได้ตลอดเวลาเพื่อจัดการกับเงื่อนไขต่างๆ ที่เปลี่ยนแปลงไป โดยใช้การวิเคราะห์ที่เรียกว่า Sensitivity Analysis
3. ช่วยในการตัดสินใจที่ต้องการความรวดเร็วสูง เพื่อใช้ประกอบในการกำหนดกลยุทธ์ในการแข่งขัน ดังนั้น DSS จึงมีลักษณะการโต้ตอบได้ (interactive)
4. เสนอทางวิเคราะห์ในทางเลือกต่างๆ ในสถานการณ์ที่มีความซับซ้อน
5. จัดการเก็บข้อมูลซึ่งมาจากหลายแหล่งได้ ทั้งภายในและภายนอกหน่วยงาน
6. นำเสนอได้ทั้งรายงานที่เป็นข้อความและกราฟฟิค
เทคโนโลยี หมายถึง สิ่งที่มนุษย์พัฒนาขึ้น เพื่อช่วยในการทำงานหรือแก้ปัญหาต่าง ๆ เข่น อุปกรณ์, เครื่องมือ, เครื่องจักร, วัสดุ หรือ แม้กระทั่งที่ไม่ได้เป็นสิ่งของที่จับต้องได้ เช่น กระบวนการต่าง ๆ
เทคโนโลยี เป็นการประยุกต์ นำเอาความรู้ทางวิทยาศาสตร์มาใช้ และก่อให้เกิดประโยชน์ ในทางปฏิบัติ แก่มวลมนุษย์กล่าวคือเทคโนโลยีเป็นการนำเอาความรู้ ทางวิทยาศาสตร์มาใช้ในการประดิษฐ์สิ่งของต่าง ๆให้เกิดประโยชน์สูงสุด ส่วนที่เป็นข้อแตกต่างอย่างหนึ่งของเทคโนโลยี กับวิทยาศาสตร์ คือเทคโนโลยีจะขึ้นอยู่กับปัจจัย ทางเศรษฐกิจเป็นสินค้ามีการซื้อขาย ส่วนความรู้ทางวิทยาศาสตร์ เป็นสมบัติส่วนรวมของ ชาวโลกมีการเผยแพร่โดยไม่มีการซื้อขายแต่อย่างใดกล่าวโดยสรุปคือ เทคโนโลยีสมัยใหม่เกิดขึ้นโดยมีความรู้ทางวิทยาศาสตร์เป็นฐานรองรับ
ลักษณะของเทคโนโลยี
-สารสนเทศ ระบบที่มีการนำคอมพิวเตอร์มาช่วยในการรวบรวม จัดเก็บ หรือจัดการกับข้อมูลข่าวสารเพื่อให้ข้อมุลนั้นกลายเป็นสารสนเทศที่ดี สามารถนำไปใช้ในการประกอบการตัดสินใจได้ในเวลาอันรวดเร็วและถูกต้อง
-เทคโนโลยีสารสนเทศ หมายถึง การนำเทคโนโลยีมาใช้ในงานที่เกี่ยวกับการประมวลข้อมูลเพื่อให้ได้สารสนเทศ ซึ่งเทคโนโลยีที่ใช้เป็นการผสมผสานระหว่างเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์กับเทคโนโลยีการสื่อสารเพื่อช่วยในการสื่อสาร และการส่งผ่านข้อมูลและสารสนเทศได้สะดวกรวดเร็วมากขึ้น
-ข้อมูล หมายถึง ข้อเท็จจริงหรือเรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับสิ่งต่าง ๆ เช่น คน สัตว์ สิ่งของสถานที่
 ฯลฯ โดยอยู่ในรูปแบบที่ เหมาะสมต่อการสื่อสาร
การแปลความหมายและการประมวลผล    ซึ่งข้อมูลอาจจะได้มาจากการสังเกต การรวบรวม การวัด ข้อมูลเป็นได้ทั้งข้อมูลตัวเลขหรือสัญญลักษณ์ใด ๆ ที่สำคัญจะต้องมีความเป็นจริงและต่อเนื่องตัวอย่างของข้อมูล เช่น คะแนนสอบ ชือนักเรียน  เพศ  อายุ เป็นต้น   
-ฐานความรู้ หมายถึง สารสนเทศที่ได้จัดเป็นโครงสร้างความรู้ความเข้าใจ ประสบการณ์ ความเชี่ยวชาญและต้องมีคุณค่าเพื่อแก้ไขปัญหาในการดำเนินงานต่างๆได้   

วันพุธที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2556

4.อินเตอร์เน็ตมีข้อดีต่อระบบการศึกษาไทยอย่างไร
ประโยชน์ที่ชัดเจนที่สุดของอินเตอร์เน็ตต่อการศึกษา คือการเป็นเครื่องมือที่ช่วยให้การค้นหาข่าวสาร
ข้อมูลต่างๆเป็นไปได้อย่างสะดวกและรวดเร็วมากยิ่งขึ้น  ปัจจุบัน มี web site ต่างๆเกิดขึ้นมากมาย  แต่ละ web site ก็ให้ข้อมูลข่าวสารในเรื่องต่างๆ  รูปแบบระบบห้องสมุดก็มีแนวโน้มว่าจะเปลี่ยนเป็น digital library ที่มี หนังสือในเรื่องต่างๆเก็บไว้ในคอมพิวเตอร์ให้อ่านและค้นคว้าได้ online   การใช้ email ช่วยให้การติดต่อข่าวสาร ระหว่างนักวิชาการเป็นไปได้อย่างรวดเร็ว  ไม่ล่าช้าเหมือนแต่ก่อน  ช่วยให้การแลกเปลี่ยนความคิดเห็นระหว่าง นักวิชาการในสาขาเดียวกันทั่วโลกเป็นไปได้   การเรียนแบบ online ยังช่วยให้นักเรียนสามารถเรียนได้ตามขีด ความสามารถของตนเอง  ใครมีความสามารถมากก็เรียนได้เร็วกว่า  นักเรียนที่ไม่กล้าแสดงความคิดเห็นในห้อง ก็สามารถแสดงความคิดเห็นได้มากขึ้นผ่านการใช้ email หรือ discussion group